แบบฝึกหัดทบทวน
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว
จงตอบคำถามต่อไปนี้ใหถูกต้อง
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ มีผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า
“บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว
มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน
ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี
สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์
ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”รัฐธรรมนูญฉบับนี้
พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน
พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475
ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวขอ้งกบัการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช
2492 ไดกำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม
เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา
สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล
ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา
ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี
มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ
และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ
การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา
รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล
จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
มาตรา 65
รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, 2492,
25-27)
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวขอ้งกบัการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511
พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล
โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวขอ้งกบัการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ในประเด็นที่
1
จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีและความสมัครใจในการเลือกตัดสินใจ ในประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อธิบาย
ตอบ มีสิ่งที่เหมือนกันคือในประเด็นที่
รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ
การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ
สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า
12
ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ
ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
อธิบาย
ตอบ การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามยุคเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด
“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย
หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ฉบับที่
5-10 (พ.ศ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง
ๆ อย่างทั่วถึง
9. เหตุใดการจัดการศึกษา
รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
และความเข็มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
จงอธิบาย
ตอบ ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย
มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าจงอธิบาย
ตอบ ทางด้านการศึกษา
1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
2.
ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
3.
การมอบทุนการศึกษา
4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18
ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1
ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที
แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว
ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ ณ วันที่ 19
สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19
ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยผลการออกเสียงประชามติ
เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำเนินไปบนความร้อนแรงทางการเมือง
มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ
กับทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น
ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร.
รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น
ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง และให้นิรโทษกรรม คมช.
เองที่ก่อรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม
พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา
93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190) ประเด็นข้อเรียกร้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบุคคลและองค์กรต่าง
ๆ ออกมาเรียกร้องในหลายประเด็น เช่น การแก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง
แทนที่จะมาจากการเลือกตั้ง เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้ง
สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้มาจากการแต่งตั้งโดยกลุ่มทหารและข้าราชการ นาย วิชา
มหาคุณ อดีตผู้พิพากษา และกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ได้สนับสนุนการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยกล่าวว่า
"เรารู้กันดีว่าการเลือกตั้งสว.เป็นเรื่องการเล่นตลกร้ายของตระกูลนักการเมือง
ทำไมชาวบ้านถึงอยากให้เห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอย? ชาวบ้าน
และโดยเฉพาะนักวิชาการ ที่อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะก่อให้เกิด ประชาธิปไตยที่แท้จริง
กำลังคิดแบบฝันลอย การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นปัญหา สภา เหมือนที่เห็นกันในอดีต
ดังนั้น ทำไมชาวบ้านไม่อยากให้กลุ่มผู้พิพากษาช่วยเลือกให้
การลดความมั่นคงของฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมือง
เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความมั่นคง
และระบบพรรคการเมืองเพิ่มความสำคัญขึ้น[8][9]
สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้ฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมืองลดอำนาจเบ็ดเสร็จลง
โดยทำให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น
อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น
และไม่อนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย[10][11]
การไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย,
คณะสงฆ์อณัมนิกาย และอีก 300 องค์กรได้รณรงค์ให้มีการบัญญัติคำว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
แต่ไม่สำเร็จ[12][13]
การเรียกร้องให้เปลี่ยนนามประเทศไทยเป็นสยาม
โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทางเชื้อชาติ
ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อหลักการของความสมานฉันท์
ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ[14]
การเรียกร้องเรื่องความเสมอภาคของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยกลุ่มเกย์
10 องค์กร[15]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น